top of page

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

adacstou

รองศาสตราจารย์ ดร.นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์

สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช



ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนต้องมีการวางแผนล่วงหน้าก่อนสอนทุกครั้ง แสดงออกมาเป็นผลงานที่เป็นรูปธรรมคือแผนการจัดการเรียนรู้ สุจินต์ วิศวธีรานนท์ (2527: 410) กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนรู้เป็นผลลัพธ์ของการเตรียมการเรียนการสอนอย่างมีระบบ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1) ช่วยให้ผู้สอนจัดการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เพราะได้มีการสำรวจปัญหาและทรัพยากรท้องถิ่นมาก่อนแล้ว

2) ช่วยให้ผู้สอนมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำทางผู้เรียนในการเรียนการสอนเพราะได้มีการศึกษาและทำความเข้าใจเนื้อหาสาระเป็นอย่างดีแล้ว

3) ช่วยให้การวางแผนจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพของผู้เรียน เพราะผู้สอนได้ทำความรู้จักผู้เรียนในด้านความสามารถ ความสนใจ ความรู้พื้นฐาน ความถนัด

4) ช่วยให้ผู้สอนมีความกระจ่างเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่สอน เพราะจะต้องศึกษาให้เข้าใจมโนมติและหลักการต่างๆ เป็นอย่างดีเสียก่อน จึงช่วยให้มีความเข้าใจเนื้อหาที่จะนำมาสอนได้ครบถ้วน

5) ช่วยให้กิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีขึ้น มีความมั่นใจในตนเอง ทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจ สนใจร่วมกิจกรรม ส่งผลให้เกิดบรรยากาศดีในการเรียนการสอน

6) ช่วยให้ผู้สอนเตรียมสื่อการสอนและได้ทดลองใช้ก่อนสอน ถ้ามีสิ่งที่ชำรุดก็สามารถแก้ไขได้ทันเวลาก่อนลงมือสอน

7) ช่วยให้ผู้สอนได้ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตลอดจนความสามารถของผู้เรียน เพราะได้มีการวางแผนการประเมินผลอย่างรอบคอบและถูกต้องตามหลักการ

8) ช่วยให้ผู้สอนสามารถวิเคราะห์การสอนที่ผ่านไปได้ว่าประสบผลสำเร็จหรือมีข้อบกพร่องใดบ้างและสามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขในการจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไปได้

ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ครูต้องมีความรู้พื้นฐานดังต่อไปนี้

1. องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้

1.1 ชื่อวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ชื่อเรื่อง และระยะเวลาที่สอน

1.2 สาระการเรียนรู้หรือหัวเรื่อง เป็นการเขียนระบุเนื้อหาของบทเรียน หรือเรื่องที่จะสอน การเรียงลำดับสาระการเรียนรู้ หรือหัวเรื่อง จะต้องจัดลำดับตามเนื้อหาที่ต้องการก่อนหลัง และตามลำดับความยากง่าย

1.3 สาระสำคัญหรือมโนมติ เป็นการเขียนหัวข้อเรียงลำดับตามสาระการเรียนรู้หรือหัวเรื่อง บางคนอาจเขียนสาระสำคัญเป็นความเรียง โดยระบุเฉพาะส่วนที่เป็นแก่นของบทเรียนหรือเรื่องนั้น

1.4 จุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เป็นการระบุความคาดหวังที่แสดงพฤติกรรมของผู้เรียนที่คาดหวังหลังจบบทเรียนซึ่งต้องครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการและเจตคติเขียนเป็นข้อๆ เรียงลำดับตามหัวข้อสาระการเรียนรู้หรือหัวข้อ

ในการเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้สามารถเขียนได้ 2 ลักษณะ คือ เขียนเป็นจุดประสงค์ทั่วไปเพื่อบอกลักษณะกว้างๆ ของผู้เรียน โดยใช้คำที่ไม่อาจสังเกตเห็นพฤติกรรมที่ชัดเจนได้ แต่สามารถบอกภาพรวมที่เป็นลักษณะของผู้เรียนได้ และอีกลักษณะหนึ่งคือ จุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ คำกริยาที่สังเกตได้ของผู้เรียน เงื่อนไขของการแสดงพฤติกรรมและเกณฑ์การตัดสินผลของพฤติกรรม ตัวอย่างเช่น เมื่อจบบทเรียนแล้วนักเรียนสามารถยกตัวอย่างชื่อสารในชีวิตประจำวันที่มีฤทธิ์เป็นกรดได้ถูกต้อง 5 ชนิด ในจุดประสงค์นี้ มีคำกริยาที่สังเกตได้ คือ ยกตัวอย่างเงื่อนไขของ สารที่มีฤทธิ์เป็นกรด และเกณฑ์การตัดสินคือ ได้ถูกต้อง 5 ชนิด

1.5 กระบวนการจัดการเรียนรู้ การเขียนกระบวนการจัดการเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้ มี 3 ขั้นตอน คือ

1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน จะเขียนระบุกิจกรรมที่นำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเรื่องที่จะเรียน ซึ่งกิจกรรมนั้นจะต้องน่าสนใจและเชื่อมโยงได้กับบทเรียนที่เรียนโดยใช้เวลาสั้นๆ

2) ขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการเขียนรายละเอียดของกิจกรรมแต่ละขั้นตอนของวิธีสอนซึ่งมีได้หลายวิธี แต่ละวิธีมีขั้นตอนและรายละเอียดแตกต่างกัน โดยกิจกรรมนั้นควรเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ และใช้ขั้นตอนระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้เรียน

3) ขั้นสรุปบทเรียน เป็นการเขียนกิจกรรมหรือคำถามนำทางให้ผู้เรียนสรุปบทเรียนได้ด้วยตนเอง

1.6 สื่อและแหล่งเรียนรู้ เป็นการเขียนรายการวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมของแผนการจัดการเรียนรู้นั้น

1.7 การประเมินผล เป็นการเขียนระบุวิธีการประเมินผล ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการประเมินผลทำได้หลายวิธี เช่น การให้ตอบคำถาม การสังเกต การปฏิบัติกิจกรรมหรือปฏิบัติการทดลอง การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม การตรวจผลงานหรือผลการทดลอง การให้ทำแบบฝึกหัด การทดสอบทั้งนี้ต้องระบุชนิดของเครื่องมือ และเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินด้วย

1.8 หมายเหตุ เป็นการเขียนบันทึกปัญหา อุปสรรคที่พบ และข้อเสนอแนะที่ได้หลังจากการสอนจบบทเรียนแล้ว ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไป

2. แบบฟอร์มของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ที่นิยมใช้มีลักษณะเป็นแบบความเรียงดังนี้


การจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ดำเนินได้โดยการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอนหลักของวิธีสอนได้หลายวิธี โดยผู้สอนต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเป็นวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น มีรายละเอียดของกรอบความคิดของวิธีสอนดังต่อไปนี้

เมื่อครูทำความเข้าใจกับขั้นตอนสำคัญของวิธีสอนแล้ว ครูต้องวิเคราะห์บทเรียนเพื่อกำหนดสาระสำคัญที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ถ้าสาระสำคัญมีมากกว่า 1 เรื่อง ครูต้องพิจารณาเลือกสาระสำคัญที่เป็นฐาน หรือจุดเริ่มต้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบในขั้นตอนที่ 1-3 คือขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสำรวจและค้นหาและขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกันอย่างต่อเนื่อง ส่วนสาระสำคัญอื่นๆ ที่เป็นรองหรือมีลำดับหลังๆ สามารถออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ค้นพบในขั้นตอนที่ 4 คือขั้นขยายความรู้และทำให้ผู้เรียนมีลำดับความคิดในการเรียนรู้ได้ง่ายไม่สับสน ส่วนกิจกรรมในขั้นที่ 5 การประเมินผล ครูต้องออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนการเรียนรู้ สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการสืบค้นของตนเอง เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ครั้งต่อไป

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการนำสาระสำคัญไปเชื่อมโยงเข้ากับขั้นตอนของวิธีสอน แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่จะต้องกล่าวถึง คือ การเชื่อมโยงองค์ประกอบของการเรียนรู้เข้าด้วยกัน คือ จุดประสงค์การเรียนรู้กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำมาเชื่อมโยงกับส่วนที่มีการนำสาระสำคัญมาเชื่อมโยง กับขั้นตอนของวิธีสอนซึ่งในที่นี้จะใช้ขั้นตอนตามการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นจะได้นำเสนอเป็นแผนผังความคิดดังรูปแผนผังที่ 1 ต่อไปนี้


รูปแผนผังที่ 1 การเชื่อมโยงองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้กับการเชื่อมโยงสาระสำคัญกับขั้นตอนของวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E)



จากแผนผังความคิดข้างต้นนำมาเขียนเป็นตารางแสดงความเชื่อมโยงระหว่างสาระสำคัญจุดประสงค์การเรียนรู้และการประเมินผล สามารถนำมาเขียนเป็นตัวอย่าง การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องความหนาแน่นของวัตถุดังต่อไปนี้









แผนผังแสดงความเชื่อมโยงระหว่างสาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลการเรียนรู้เรื่องความหนาแน่นของวัตถุ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6























เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นจะได้ยกตัวอย่างการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามแบบฟอร์ม ที่กล่าวถึงในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบกึ่งตารางดังนี้


ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์


ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนวิทยาศาสตร์

เรื่องความแน่นของวัตถุ ชั้น ป.6


จุดประสงค์การเรียนรู้

เมื่อจบบทเรียนแล้วนักเรียนสามารถ

1. แสดงการทดลองเกี่ยวกับความหนาแน่นของวัตถุได้

2. บอกความหมายของความหนาแน่นของวัตถุได้

3. คำนวณหาความหนาแน่นของวัตถุจากโจทย์ที่กำหนดให้ได้

สาระสำคัญ

ความหนาแน่นของวัตถุ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างมวลและปริมาตรของวัตถุ ซึ่งมวลวัตถุหาได้จากการนำวัตถุไปชั่งและปริมาตรวัตถุหาได้จากการคำนวณตามรูปทรงทางเรขาคณิต การคำนวณหาความหนาแน่นของวัตถุสามารถคำนวณได้จากสูตร D = เมื่อ D คือความหนาแน่นของวัตถุ M คือ มวลของวัตถุและ V คือปริมาตรของวัตถุ


108




กิจกรรมการเรียนรู้ (ตามขั้นตอนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E)





(ต่อ)
























สื่อและแหล่งเรียนรู้

1. วัตถุ แท่งไม้ แท่งโฟม และแท่งเหล็ก

2. เครื่องชั่งและไม้บรรทัด

3. ภาชนะบรรจุน้ำ

4. ตารางบันทึกข้อมูล

การวัดและประเมินผล

สังเกตพฤติกรรมการทดลอง การตอบคำถามของนักเรียน และผลการทำแบบทดสอบหลังเรียน


จากข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทั้ง 6 ข้อที่กล่าวถึงข้างต้อน จะสามารถใช้เป็นแนวทางให้ครูวิทยาศาสตร์ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้ชัดเจน และสามารถใช้เป็นเครื่องมือให้ครูวิทยาศาสตร์ นำไปใช้ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ได้ดีขึ้น และสามารถแก้ปัญหาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้ ถ้าครูที่มีความสนใจนำเอาวิธีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่นำเสนอในหนังสือนี้ไปใช้ จะสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับวิธีสอนที่เลือกใช้ เมื่อนำมาเขียนเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ก็จะได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีระเบียบแบบแผนมีความน่าเชื่อถือนำไปสอนได้อย่างถูกต้องได้ผลดีกับนักเรียนและนำไปใช้เขียนประกอบการนำผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพได้



บรรณานุกรม

สุจินต์ วิศวธีรานนท์. ( 2527). การเขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์. ในเอกสารการสอนการสอนชุดวิชาวิทยาศาสตร์ (หน่วยที่14) นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมฺราช.





341 views
โพสต์ล่าสุด
หมวดหมู่
Archive
bottom of page