การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ในยุคการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การบริหารจัดการชั้นเรียนต้องเปลียนไปจากยุคเดิม เพราะความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะทางด้านการเป็นยุคดิจิทัล ทำให้นักวิชาการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่างก็ตื่นตัวที่จะพัฒนางานด้านการศึกษา คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ เพื่อนำไปใช้กับระบบการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้นั้นมีหลายประเภทแตกต่างกันออกไป นวัตกรรมในการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีหลายอย่าง เช่น ห้องเรียนกลับด้าน ห้องเรียนเสมือนจริง ห้องเรียนอัจฉริยะ ดิจิตอล การเรียนแบบผสมผสาน และการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงรุก
1. ห้องเรียนกลับด้าน
ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ครูมอบหมายให้นักเรียนศึกษาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ก่อนการเรียนในชั้นเรียน จากนั้นเมื่ออยู่ในชั้นเรียนจริงนักเรียนจะได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อต่อยอดจากเนื้อหา ทำแบบฝึกหัดและถามตอบจากสิ่งที่ได้เรียนผ่านสื่อมาแล้ว และโดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะ ให้คำแนะนำหรือให้ความช่วยเหลือ
ประโยชน์ของห้องเรียนกลับด้าน ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามศักยภาพของตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาสำหรับนักเรียนที่ขาดเรียนบ่อย นักเรียนที่เรียนอ่อนจะไม่ถูกทอดทิ้ง โดยผู้สอนจะคอยชี้แนะ ให้กำลังใจ และช่วยเหลือผู้เรียน ทำให้รู้จุดอ่อน จุดแข็ง ของนักเรียนแต่ละคน นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้รู้จักจัดการเวลา แบ่งเวลาเป็นและสามารถเรียนได้เมื่อไรก็ได้ตามความพึงพอใจของตนเอง อีกทั้งยังช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกัน และระหว่างเด็กกับครูเพิ่มขึ้น และยังทำให้นักเรียนเรียนเพื่อตนเองไม่ใช่เป็นการเรียนเพื่อทำตามคำสั่งครู หรือเพื่อคนอื่น ส่งผลให้นักเรียนเอาใจใส่ในการเรียน และเกิดเจตคติที่ดีในการเรียนรู้
ภาพที่ 1 การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน
2. ห้องเรียนเสมือน
ห้องเรียนเสมือนเป็นการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริงนั้นเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลักที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดน
ภาพที่ 2 ห้องเรียนเสมือน
2. ประเภทของห้องเรียนเสมือนจริงถูกจำแนกประเภทการเรียนในห้องเรียนเสมือน
จริงได้ 2 ลักษณะคือ
2.1 จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา แต่มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียงเกี่ยวกับบทเรียน โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียนที่อยู่นอกห้องเรียนนักศึกษาก็สามารถรับฟังและติดตามการสอนของผู้สอนได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองอีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอน หรือเพื่อนักศึกษาในชั้นเรียนได้ ห้องเรียนแบบนี้ยังอาศัย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นจริง
2.2 การจัดห้องเรียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างภาพเสมือนจริงเรียกว่า Virtual Reality โดยใช้สื่อที่เป็นตัวหนังสือ (Text-Based) หรือภาพกราฟิก(Graphical-Based) ส่งบทเรียนไปยังผู้เรียนโดยผ่านระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนลักษณะนี้เรียกว่า Virtual Education Environment ซึ่งเป็น Virtual Classroom ที่แท้จริง การจัดการเรียนการสอนทางไกลทั้งสองลักษณะนี้ในบางมหาวิทยาลัยก็ใช้ร่วมกัน คือมีทั้งแบบที่เป็นห้องเรียนจริง และห้องเรียนเสมือนจริง การเรียนการสอนก็ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก เช่นอินเตอร์เน็ต ขณะนี้ได้มีผู้พยายามจัดตั้งมหาวิทยาลัยเสมือนจริงขึ้นแล้ว โดยเชื่อมโยงผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการ ด้านการเรียนการสอนทางไกลแบบ Virtual Classroom ต่างๆ เข้าด้วยกัน และจัดบริเวณอาคาร สถานที่ห้องเรียน ห้องสมุด ภาควิชาต่างๆ ศูนย์บริการต่างๆ ตลอดจนคณาจารย์ นักศึกษา กิจกรรมทุกอย่างเสมือนเป็นชุมชนวิชาการจริงๆ แต่ข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ของแต่ละแห่งผู้ประสงค์จะเข้าร่วมในการเปิดบริการก็จะต้องจองเนื้อที่และเขียนโปรแกรมใส่ข้อมูลเข้าไว้ เมื่อนักศึกษาติดต่อเข้ามา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะแสดงภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถโต้ตอบได้เสมือนหนึ่งเป็นมหาวิทยาลัยจริงๆ
แม้ว่าต้นทุนในการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนจะสูงมาก แต่ถ้าหากมีการบริการจัดการจนมีประสิทธิภาพและเป็นที่แพร่หลายแล้ว ผลกำไรจะเกิดขึ้นกับสังคมและประเทศชาติในรูปของคนส่วนใหญ่ของประเทศได้รับความรู้ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาส่วนต่างๆของประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
3. ห้องเรียนอัจฉริยะ
ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)หมายถึง ห้องเรียน หรือแหล่งการเรียนที่จัดทาขึ้นในลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากห้องเรียนปกติโดยทั่วไป เพื่อใช้สาหรับการเสริมสร้างและพัฒนาประสบการณ์ทางการเรียนการสอน, การฝึกอบรมรวมทั้งการฝึกทักษะ และความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะสามารถนาไปปรับใช้ในอนาคตได้ โดยมีจุดเน้นในด้านของการมีปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนร่วมกันกับเทคโนโลยีที่หลากหลายของสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดเป็นการเรียนการสอนทั้งในระบบชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนในการเรียนการสอนแบบทางไกลที่มีประสิทธิภาพ โดยผังมโนทัศน์ของห้องเรียนอัจฉริยะ ดังนี้
Junfeng Yang (2013) ได้มีการกำหนดมโนทัศน์ ( Concept )ที่บ่งบอกถึงความหมายของคำว่า SMART Classroom ซึ่งมาจากคำสาคัญที่แสดงให้เห็นในมิติในด้านต่างๆดังต่อไปนี้ ( Huang et.al , 2014 ) (2)
ที่มา : Huang et.al , 2013 : online
ภาพที่ 3 ผังมโนทัศน์ของห้องเรียนอัจฉริยะ Junfeng Yang (2013)
“Optimizing Classroom Environment to Support Technology Enhanced Learning”
1. S: Showing ความสามารถในการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศในการเรียนการสอนผ่านสื่อเทคโนโลยีการสอน
2. M: Manageable ความสามารถในเชิงการบริหารจัดการด้านการจัดระบบการสอน, สื่อ,อุปกรณ์, ทรัพยากร, แหล่งทรัพยากร และสภาพแวดล้อมในห้องเรียนอัจฉริยะ
3. A: Accessible ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการเรียนจากการใช้สื่อ,เครื่องมือ และอุปกรณ์ในห้องเรียนอัจฉริยะ
4. R: Real-time Interactive ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบขณะสร้างประสบการณ์ทางการเรียนการสอน รวมทั้งการเรียนผ่านสื่อ, เครื่องมือ และอุปกรณ์เทคโนโลยีเชิงโต้ตอบในห้องเรียนอัจฉริยะ
5. T: Testing ความสามารถด้านการทดสอบ หรือการตรวจสอบเชิงคุณภาพสาหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการตรวจสอบพฤติกรรมทางการเรียนจากการใช้ห้องเรียนอัจฉริยะ
แนวคิดของการศึกษากับห้องเรียนอัจฉริยะ
ห้องเรียนอัจฉริยะเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่สอดคล้องกับแนวคิดทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาสาหรับการจัดการศึกษาไทยทางไกลรูปแบบหนึ่งที่ต้องการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการเรียน โดยสามารถจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองผ่านช่องทางของเทคโนโลยีต่าง ๆ และระบบอินเตอร์เน็ต
4. การบริหารจัดการห้องเรียนเชิงรุก
การบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงรุก (Proactive Classroom Management) เป็นการดำเนินงานทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนเป็นไปอย่างราบรื่น มีการตัดสินใจที่ตรงประเด็นและมีบรรยากาศโดยรวมเหมาะสม โดยผู้สอนจะมีการเตรียมการในระดับที่ซับซ้อนอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือถูกขัดจังหวะในขณะจัดการเรียนการสอน เพื่อให้การเรียนรู้แก่ผู้เรียนมีความหมายสามารถเกิดขึ้นได้ ความรู้ทักษะและความสามารถในการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงรุก จะส่งผลให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) การจัดรูปแบบห้องเรียน 2) การตั้งค่าความคาดหวัง การตั้งกฎและกาหนดขั้นตอนการเรียน 3) การชี้แจงกฎระเบียบ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนและครู 5) กลยุทธ์การสอนอย่างหลากหลาย และ 6) การประเมินและตรวจสอบพฤติกรรม ด้วยรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบโปรแอคทีฟนี้ผู้เรียนจะมีการลงมือปฏิบัติงานจนเกิดเป็นประสบการณ์จริง
5. พื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space)
พื้นที่การเรียนรู้แนวใหม่ที่จัดขึ้นสนับสนุนภารกิจของสถานศึกษาด้านการเรียนการสอน และการเรียนรู้ของผู้เรียนในการศึกษาหาความรู้ร่วมกันที่นอกเหนือจากห้องเรียนปกติ โดยสถานศึกษาจัดสถานที่และสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและวิถีชีวิตของผู้เรียนที่มีความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยี จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อการเรียนรู้รูปแบบต่างๆที่มีสาระวิชาการแทรกผ่านทางสื่อต่างๆทั้งในรูปของหนังสือ ดนตรี ภาพยนตร์ และ สื่อมัลติมีเดีย เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้ด้วยตนเองโดยการทดลอง ค้นคว้า ปฏิบัติจริง รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น และเป็นแหล่งสำหรับกลุ่มผู้สนใจในเรื่องคล้ายกันได้แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ทางด้านวิทยาศาสตร์มีพื้นที่การเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ (Science Learning Space) เป็นพื้นที่การเรียนรู้สำหรับผู้สนใจทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยสามารถเข้าศึกษาด้วยตนเองเพิ่มเติม ทางสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดทำ ศูนย์เรียนรู้ดิจิทัลระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท. (IPST Learning Space) เป็นแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี โดยรวบรวมสื่อการเรียนรู้ที่มีมาตรฐาน คัดกรองคุณภาพและความถูกต้อง โดยผู้เชี่ยวชาญและสอดคล้องกับหลักสูตรในโรงเรียนไว้อย่างครบถ้วน ภายใต้การดำเนินงานของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ศูนย์นี้มุ่งยกระดับคุณภาพการศึกษา และขยายโอกาสการเรียนรู้เชื่อมโยงผู้คน ข้อมูลข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้สู่ทุกคนอย่างเท่าเทียมเพื่อให้นักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึง แบ่งปันและเรียนรู้ได้ทุกที่ในทุกเวลา
ศูนย์เรียนรู้ดิจิทัลระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท. มีระบบหลัก ๕ ระบบ คือ ๑) ระบบอบรมครู ๒) ระบบการสอนออนไลน์ ๓) ระบบคลังความรู้ ๔) ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน และ ๕) ระบบสำนักพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เรียนรู้ดิจิทัลระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท. มีความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในด้านโอกาสการเรียนรู้และเป็นการเพิ่มคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ด้านคณิตศาสตร์ และด้านเทคโนโลยี โดยการจัดพื้นที่การเรียนรู้ให้แก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ IPST Learning Space เป็นแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่รองรับการยกระดับคุณภาพการศึกษา ขยายโอกาสและเพิ่มความเท่าเทียมในการเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงสื่อที่ได้มาตรฐาน คัดกรองคุณภาพและความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ สอดคล้องกับหลักสูตรในโรงเรียน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ และเรียนรู้ร่วมกันได้โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งเวลา สถานที่ ค่าใช้จ่าย
การจัดพื้นที่การเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาควรจัดพื้นที่ที่ผู้เรียนสามารถใช้พื้นที่แห่งนั้นในการศึกษาค้นคว้าได้สะดวก มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าสนับสนุน อาจเป็นหนังสือ อุปกรณ์ทดลอง และอุปกรณ์ค้นคว้าออน์ไลน์ มีสัญญาณไวไฟเข้าถึงได้เพียงพอ
6. ชั่วโมงอัจฉริยะ (Genius Hour)
ชั่วโมงอัจฉริยะ เป็นเวลาสำหรับนักเรียนในการทำกิจกรรมร่วมกัน ของกลุ่มที่สนใจในเรื่องเดียวกันในการสำรวจและสร้างสรรค์ผลงานในสิ่งที่ตนเองหลงไหลสนใจอยากรู้อยากสร้างผลงานในเรื่องนั้นอย่างแท้จริง
ภาพที่ 4 หลักการ 6 ประการของชั่วโมงอัจฉริยะ
ชั่วโมงอัจฉริยะมีหลักการที่เกี่ยวข้องอยู่ 6 ประการคือ
1) กฎ 80/20 (80/20 rule)
กฎ 80/20 เป็นโครงสร้างเวลาตามแนวคิดของ Google ที่อนุญาตให้วิศวกรหรือพนักงานใช้เวลา 20% ในการทำงานในโครงการที่ตนเองสนใจชื่นชอบ ซึ่งมีการกล่าวว่า 50% ของผลิตภัณฑ์ของ Google ได้รับการสร้างขึ้นในลักษณะนี้ Genius Hour ของนักเรียน เป็นเวลาที่ให้นักเรียนได้ใช้เวลา 20% ได้ศึกษาในสิ่งที่นักเรียนสนใจ
2) การขัดเกลาทางสังคม (Socialization)
ครูช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนและเพื่อนได้วางแผนเพื่อผลิตผลงานเพื่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญและสมาชิกในชุมชนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการทำงาน
3) การสร้างสรรค์ (Create)
การสร้างสรรค์ผลงานเป็นหัวใจหลักของชั่วโมงอัจฉริยะ (Genius Hour) การมีผลิตภัณฑ์หรือผลงานที่มองเห็นได้ ให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ขึ้นอย่างสม่ำเสมอในการเรียนรู้
4) การสืบสวนสอบสวนและการนำทาง (Inquiry & Navigation)
การสำรวจความเป็นไปได้ของเนื้อหาที่ไม่มีการกรองการรวบรวมข้อมูลและการวิจัยที่แคบลงทำให้นักเรียนรู้สึกได้ถึงความคิดที่สำคัญสำหรับพวกเขา ในการนำทางและการสืบสวนสอบสวน การสำรวจความเป็นไปได้นี้นำไปสู่การวิจัยและการวิจัยแบบแคบมากขึ้น ด้วยวิธีนี้การเรียนรู้แบบนี้มีความสำคัญกับชั่วโมงอัจฉริยะ (Genius Hour)
5) การออกแบบ (Design)
เนื้อหาที่สนใจและเนื้อหาในการทำโครงงานนักเรียนจะต้องออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตัวเอง
6) วัตถุประสงค์
ผู้เรียนต้องค้นหาความความต้องการของตนในการกำหนดเป็นวัตถุประสงค์ที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้ ทำความเข้าใจหรือสิ่งที่ต้อการประดิษฐ์สร้างขึ้น
7. แอปพลิเคชันสำหรับการจัดการชั้นเรียนสำหรับครู
โลกดิจิทัลสมัยใหม่ได้เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับครู ในอดีตครูมักต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่ล้าสมัยเช่นจดหมายกระดาษโทรศัพท์รายงานบัตรประจำตัวและสมุดบันทึกและอื่น ๆ อีกมากมายเพียงเพื่อทำหน้าที่ดูแลผู้เรียน แต่วันนี้การปฏิวัติแบบดิจิทัลได้ขยายออกไปแล้ว การจัดการชั้นเรียนและแอปพลิเคชันการสื่อสารสมัยใหม่ช่วยให้ครูประหยัดเวลาและสะดวกช่วยให้การบริหารจัดการชั้นเรียนง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แอพพลิเคชันการจัดการชั้นเรียนที่ได้รับความนิยมสูงสำหรับครู เช่น ClassDoJo
ภาพที่ 5 หลักการ 6 แอปพลิเคชัน ClassDojo
ClassDojo เป็นแอปพลิเคชันแบบรวมการใช้งานหลายด้านไว้ด้วยกัน เพื่อช่วยในการบริหารจัดการกับนักเรียนและผู้ปกครอง เป็นทางเลือกที่ดี เหมาะสำหรับช่วยให้ครูสามารถสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีขึ้นสำหรับเด็ก ๆ โดยมี ฟังชัน microsites สามารถใช้เฉพาะสำหรับสือสารกับผู้เรียนแต่ละคน และสามารถให้ผู้ปกครองเข้าเยี่ยมชมในส่วนที่แสดงผลงานของผู้เรียน โดยเสนอเป็นภาพถ่ายและข้อมูลอื่น ๆ ได้ วิธีนี้ช่วยให้พ่อแม่มีความสัมพันธ์กับการศึกษาของเด็กมากขึ้นและช่วยในการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ครูสามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วมด้วยเครื่องมือการจัดการในระดับที่มีประสิทธิภาพและสามารถติดตามการมีส่วนร่วมของนักเรียนแต่คนได้ สุดท้าย ClassDojo ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถสื่อสารกับครูโดยตรงผ่านทางแอปพลิเคชันได้โดยไม่ต้องใช้โทรศัพท์ส่วนตัว